กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

สัญญากู้ยืมหรือสัญญากู้ยืมเงิน

มีผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมว่า สัญญากู้ยืมหรือสัญญากู้ยืมเงิน กฎหมายบัญญัติว่าต้องมีหลักฐานการกู้ยืมและหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ อัตราดอกเบี้ยว่าจะคิดดอกเบี้ยอย่างสูงได้เท่าไร คิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่  ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการกู้ยืมเงิน มานำเสนอดังต่อไปนี้

1.กรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงิน  มีสัญญาหลายชนิดที่คู่สัญญามีการกระทำหรือมีหน้าที่ต่อกัน คล้ายสัญญากู้ยืมเงิน แต่ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงนำบทบัญญัติเรื่องยืมไปใช้บังคับไม่ได้ เช่น

  • ยืมเงินทดรอง
  • สัญญาเล่นแชร์เปียหวย
  • ตัวแทนออกเงินทดรอง
  • มอบเงินให้ไปดำเนินกิจการร่วมกัน
  • สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
  • สัญญาบัตรเครดิต

2. การส่งมอบเงินที่ยืมถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเจตนา หลักประการสำคัญของการกู้ยืมเงินประการหนึ่งคือต้องมีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม สัญญากู้ยืมเงินจึงจะบริบูรณ์หรือสมบูรณ์  เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 วรรคสอง

3.หลักฐานแห่งการกู้ยืม มาตรา 653 บัญญัติว่า การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่  มีหลักต้องพิจารณา 4 ประการ

  • ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
  • ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น
  • หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด
  • การกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือยกขึ้นฟ้องหรือต่อสู้คดีไม่ได้

4.การกรอกข้อความแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสัญญากู้ยืมเงิน

  1. แก้ไขจำนวนเงินในขณะที่เขียนสัญญากู้ ในกรณีที่มีการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะไม่ได้ลงชื่อกำกับก็ใช้ได้ เพราะถือว่าเป็นเจตนากู้ยืมกันครั้งเดียวตามจำนวนที่แก้ไขแล้ว ลงชื่อไว้ท้ายสัญญาแห่งเดียวก็พอ
  2. แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมครั้งใหม่หลังจากทำสัญญากู้จนเสร็จสมบูรณ์แล้วต่อมาผู้กู้ขอกู้เพิ่มเติม คู่กรณีไม่ทำสัญญาฉบับใหม่ แต่ใช้วิธีเปลี่ยนจำนวนเงินกู้ในสัญญาฉบับเก่า  ถือว่าการกู้ครั้งใหม่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้กู้รับผิดเฉพาะแต่การกู้ครั้งแรกเท่านั้น
  3. แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอมเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ปลอม
  4. สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้

– ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินสูงกว่าที่กู้จริง บางครั้งผู้กู้เพียงแต่ลงชื่อเป็นผู้กู้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งไม่มีการกรอกจำนวนเงิน เมื่อผู้ให้กู้จะฟ้องคดีจึงกรอกข้อความระบุจำนวนเงินที่กู้สูงกว่าที่กู้จริง

– ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินตามที่กู้จริง  ถ้าทำสัญญากู้กันโดยผู้กู้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ไม่ได้กรอกข้อความ ต่อมาเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้จึงกรอกข้อความและจำนวนเงินตามความเป็นจริงที่ตกลงกัน ดังนี้ สัญญากู้ดังกล่าวใช้บังคับได้

  1. กรณีที่กู้ยืมเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ 2 ฉบับประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับมากเกินสมควร เป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ

5.ดอกเบี้ยที่เรียกกันได้ตามกฎหมาย สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาตรงกันของคู่สัญญา ดังนั้นคู่สัญญาจะตกลงกันว่าจะคิดดอกเบี้ยต่อกันหรือไม่ก็ได้  ถ้าตกลงว่าจะคิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงรวมทั้งวิธีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ต้องไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 654 และมาตรา 655 ข้อตกลงนั้นจึงจะใช้บังคับได้ ผู้กู้มีหน้าที่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้  ในเรื่องดอกเบี้ยนี้มีปัญหาที่สมควรพิจารณาอยู่ 4 กรณี คือ

  1. ดอกเบี้ยที่กำหนดโดยกฎหมาย
  2. ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มาตรา 654 บัญญัติว่า “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”

– ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมด แต่เงินต้นสมบูรณ์

– ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าแล้วนำไปรวมกับเงินต้นในสัญญากู้

– ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปแล้วจะเรียกคืนไม่ได้

– ผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัด

  1. ดอกเบี้ยกรณีผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงิน

– สัญญาระบุให้ผู้ให้กู้ปรับอัตราดอกเบี้ยได้

– เมื่อเลิกสัญญาแล้ว ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย

– การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับหรือไม่

  1. ดอกเบี้ยทบต้น มาตรา 655 วรรคหนึ่ง บัญญัติ “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งคู่สัญญากู้ยืมเงินจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้

ที่มา: http://www.decha.com/article/section/relieve_lawyer/10206


รับข้อมูล ข่าวสารการยืมเงินทางอีเมมล์ กรุณากรอกอีเมลล์ของคุณ

[mc4wp_form id=”320″]

7 thoughts on “กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมหรือสัญญากู้ยืมเงิน”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save