Tag กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมหรือสัญญากู้ยืมเงิน

กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน มีผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมว่า สัญญากู้ยืมหรือสัญญากู้ยืมเงิน กฎหมายบัญญัติว่าต้องมีหลักฐานการกู้ยืมและหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ อัตราดอกเบี้ยว่าจะคิดดอกเบี้ยอย่างสูงได้เท่าไร คิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่  ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการกู้ยืมเงิน มานำเสนอดังต่อไปนี้ 1.กรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงิน  มีสัญญาหลายชนิดที่คู่สัญญามีการกระทำหรือมีหน้าที่ต่อกัน คล้ายสัญญากู้ยืมเงิน แต่ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงนำบทบัญญัติเรื่องยืมไปใช้บังคับไม่ได้ เช่น ยืมเงินทดรอง สัญญาเล่นแชร์เปียหวย ตัวแทนออกเงินทดรอง มอบเงินให้ไปดำเนินกิจการร่วมกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาบัตรเครดิต 2. การส่งมอบเงินที่ยืมถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเจตนา หลักประการสำคัญของการกู้ยืมเงินประการหนึ่งคือต้องมีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม สัญญากู้ยืมเงินจึงจะบริบูรณ์หรือสมบูรณ์  เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 วรรคสอง 3.หลักฐานแห่งการกู้ยืม มาตรา 653 บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”  มีหลักต้องพิจารณา 4 ประการ ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด การกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือยกขึ้นฟ้องหรือต่อสู้คดีไม่ได้ 4.การกรอกข้อความแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสัญญากู้ยืมเงิน แก้ไขจำนวนเงินในขณะที่เขียนสัญญากู้ ในกรณีที่มีการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะไม่ได้ลงชื่อกำกับก็ใช้ได้ เพราะถือว่าเป็นเจตนากู้ยืมกันครั้งเดียวตามจำนวนที่แก้ไขแล้ว ลงชื่อไว้ท้ายสัญญาแห่งเดียวก็พอ…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save